มาตรการป้องกันอันตรายไฟย้อนกลับ (Flashback) จากการเชื่อมโดยใช้แก๊ส
1. การเชื่อมโดยใช้แก๊ส (Oxy-fuel Gas Weldiเng)
หมายถึง การเชื่อมชิ้นงานโดยใช้พลังงานความร้อนจากการสันดาปของแก๊สเชื้อเพลิง (Fuel Gas) เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อะเซทิลีน (C2H2) หรือไฮโดรเจน (H2) กับออกซิเจน (O2) ที่หัวเชื่อมแก๊ส (Torch)
2. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมแก๊ส (Gas Welding Equipment)
ประกอบด้วย
1. หัวเชื่อมแก๊ส (Torch)
2. สายแก๊สเชื้อเพลิงและสายออกซิเจน (Hoses)
3. ถังแก๊สเชื้อเพลิง (Fuel Gas Cylinder)
4. ถังออกซิเจน (Oxygen Cylinder)
5. อุปกรณ์ปรับความดัน (Regulators)
3. อันตรายที่เกิดจากการเชื่อมโดยใช้แก๊ส
หัวเชื่อมแก๊ส (Torch) ถึงแม้จะได้รับการออกแบบให้ทรงประสิทธิภาพดีเพียงไรก็ตาม
แต่ก็ยังมีความเป็นอันตรายในตัวของมันเอง กล่าวคือ อาจเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) ที่หัวเชื่อมแก๊ส การเกิดไฟลุกไหม้หรือระเบิดที่อุปกรณ์ขณะทำการเชื่อมแก๊ส เช่น การระเบิดที่ Torch หรือการระเบิดของสายแก๊สหรือสายออกซิเจน (Hoses) ที่ต่อระหว่าง Torch กับ Regulator หรือการระเบิดที่ Regulators และที่รุนแรงที่สุดคือการระเบิดที่ถังออกซิเจนหรือถังแก๊สเชื้อเพลิง ล้วนแต่มีสาเหตุมาจาก
การเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) ทั้งสิ้น
4. การเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) คืออะไร
Flashback เป็นปรากฎการณ์ที่ไฟ (Flame) ย้อนกลับจาก Torch เข้าในสายแก๊สผ่าน
Regulator ไปยังถังแก๊สเชื้อเพลิง (Fuel Gas Cylinder) ขณะเดียวกันออกซิเจนจะไหลตามเข้าไป โดยแรงปฏิกริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้ เพื่อให้เกิดการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง (Sustain Combustion) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ Flame ย้อนกลับจาก Torch เข้าไปในสายออกซิเจนผ่าน Regulator ไปยังถังออกซิเจน
ขณะเดียวกัน Fuel Gas จะไหลตามเข้าไปด้วยแรงปฏิกริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้เพื่อให้เกิด Sustain Combustion ความเร็วของไฟ (Flame Velocity) ขณะเกิด Flashback จะเร็วมาก Flame Velocity อาจสูงถึง 2 เท่าของความเร็วของเสียงประมาณ 2,000 ฟุต/วินาที หรือ 1400 ไมล์/ชั่วโมง
5. บทเรียนแห่งความสูญเสียอันเนื่องมาจาก Flashback
ในประเทศไทยเคยมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งในโรงงานและสถานประกอบการ ที่มีสาเหตุมาจากการเกิดปรากฏการณ์ Flashback มาแล้วมากมายหลายครั้ง แต่ละครั้งนำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการโรงงาน ช่างเชื่อม คนงานและผู้ที่อยู่ข้างเคียงเป็นจำนวนมาก อาทิ กรณีการเกิดอุบัติเหตุถังแก๊สระเบิดในเรือนวคุณ 15 ที่อู่ต่อเรือหรินทรานสปอร์ต แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2541 เป็นเหตุทำให้ช่างเชื่อมเสียชีวิต 1 คน หรือกรณีถังแก๊สอะเซทิลีนระเบิด ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าโรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2542 เป็นเหตุให้คนงานได้รับบาดเจ็บ 1 คน คนงานวิ่งหนีตายกันอย่างอลหม่าน หรือกรณีถังออกซิเจนระเบิดที่อู่ซ่อมรถยนต์ ชื่อ ส. การช่าง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 เหตุเกิดขณะช่างกำลังทำการเชื่อมหมอ้ นํ้ารถยนต์ โดยใช้เครื่องเชื่อมแก๊ส (Oxy-Lpg) ได้เกิดปรากฏการณ์ Flashback ขึ้นที่ Torch ผ่าน Hose และ Regulator แล้วไประเบิดที่ถังออกซิเจน เป็นเหตุทำให้ภรรยาเจ้าของอู่ ลูกค้าที่นำรถยนต์มาซ่อมและช่างเชื่อมเสียชีวิตรวม 4 คน ส่วนเจ้าของบาดเจ็บ
สาหัส ขาข้างซ้ายขาดถึงโคนขา เป็นต้น
6. สาเหตุที่ทำให้เกิด Flashback
สาเหตุที่ทำให้เกิด Flashback เกิดได้หลายประการ ดังนี้
– การประกอบหัวเชื่อมแก๊ส (Torch) ไม่ถูกต้อง
– การระบายแก๊ส (Purge) ที่ค้างอยู่ในสายแก๊สและ Torch ก่อนการเชื่อมไม่ถูกต้อง
– ความดันใช้งานไม่ถูกต้อง
– เลือกใช้หัว Tip ของ Torch ไม่ถูกต้อง
– ทางเดินของแก๊สใน Torch อุดตัน
– สายแก๊สชำรุดหรือรั่วไหลและมีประกายไฟทำให้เกิดการลุกไหม้
– ใช้ระยะห่างของหัว Tip กับชิ้นงานที่เชื่อมไม่ถูกต้อง
– เกิดการรั่วของแก๊สที่ Regulator, Hose หรือ Connection เป็นผลทำให้ความดันลดลง
แก๊สที่ความดันสูงจึงไหลย้อนกลับไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นต้น
7. มาตรการป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Protection Measures)
เราสามารถป้องกันไฟย้อนกลับได้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ
(Flashback Arrestors) โดยต้องติดตั้งที่ Gas Welding Equipment 4 จุด ดังนี้คือ
7.1 ทางออกของ Oxygen Regulator
7.2 ทางออกของ Fuel Gas Regulator
7.3 ด้าม Torch ทางด้านที่ต่อกับสายออกซิเจน
7.4 ด้าม Torch ทางด้านที่ต่อกับสายแก๊สเชื้อเพลิง
8. Flashback Arrestors คืออะไร
Flashback Arrestors คือ อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับในการเชื่อมแก๊ส โดยทั่วไป
ประกอบด้วย โครงสร้างหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ
8.1 Non-Return Valve เป็นลิ้นควบคุมการไหลให้ไปในทิศทางเดียว
8.2 Flame Arrestor เป็นตัวดูดซับหรือดับไฟที่ย้อนกลับ
8.3 Thermal Cut-Off Valve เป็นตัวจับความร้อน โดยลิ้นจะปิดการไหลโดย
ทันทีทันใด เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้น
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม