SP-Allgas

ทรัพย์ประเสริฐ อ๊อกซิเจน

02-9962239 sales@sp-oxygen.com
Menu
  • หน้าหลัก
  • สินค้า
  • วิธีสั่งซื้อ
  • อ้างอิง
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Calculate

จะรู้ได้อย่างไรว่าออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถังจะใช้ได้นานเท่าใด

มันเป็นเรื่องยากที่จะสามารถหาระยะเวลาที่นอนได้เพราะการให้ออกซิเจนนั้นมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย เช่น อุณหภูมิขณะใช้ออกซิเจน อุปกรณ์ลดแรงดันที่ไม่ได้มาตรฐาน ชุดปรับอัตราการไหลที่ไม่ผ่านการเปรียบเทียบคุณภาพ เป็นต้น ปกติการวัดแรงดันนั้นตามเกจ์ทั่วไป จะมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm^2) หรือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
และเข็มที่บอกบนเกจ์จะบอกเพียงว่า Refill กับ full แล้วก็ตัวเลข ที่มีหน่วยเป็น psi กับ kg/cm^2

ความดัน 1 kg/cm^2 มีค่าเท่ากับ 1 บรรยากาศ หรือ 1 bar หรือ นิวตันต่อตารางเมตร (ปาสคาล) หรือ 14.69 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว psi โดยประมาณ เมื่อเราอ่านเกจ์ โดยมากเรามักอ่านค่า psi หรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว ดังนั้นในการคำนวณเราจะคำนวณจากหน่วยแรงดันอันนี้ ต่อมามาดูปริมาตรหรือความจุของท่อ ท่อออกซิเจนแต่ละใบมักทีความจุไม่เท่ากัน แม้ว่าจะมีขนาดอยู่ในกลุ่มหมวดเดียวกัน โดยสามารถสังเกต ตัวเลขบนคอท่อ ที่อยู่หลังตัว V ซึ่ง V ในที่นี้หมายถึงปริมาตรของท่อนั่นเอง ปริมาตรนี้เขาหาได้จากการใส่น้ำลงไปในท่อ ดังนั้นนั่นคือจำนวนลิตรของน้ำ เช่นเดียวกัน หากเราเอาน้ำออกใส่ออกซิเจนเข้าไปที่แรงดัน 1 บรรยากาศหรือบรรยากาศปกติเราก็จะได้จำนวนลิตรของก๊าซออกซิเจนเท่ากัน

การคำนวณ หาจำนวนลิตรของก๊าซที่แรงดันที่สูงกว่าแรงดัน 1 บรรยากาศ  โดยการเทียบเป็น บัญญัติไตรยางค์ ดังนั้น ที่ความดัน 14.69 psi ทำให้เรามีก๊าซออกซิเจนในท่อเท่ากับปริมาตร V ที่บอกบนถังมีหน่วยเป็นลิตรก๊าซ
ปริมาณก๊าซในถังที่มี = (ความดันเกจ์ที่อ่านค่าได้หน่วยเป็นpsi X กับปริมาตรV ที่ระบุมากับถัง) / 14.69
เช่น อ่านค่าแรงดันบนเกจได้ 1,000 psi ค่า V ที่ระบุบนถังเท่ากับ 8.21
ปริมาณก๊าซในถังที่มี   = (1000 x 8.21) / 14.69 = 558.88
เวลาที่ใช้ได้             =  ปริมาณก๊าซในถังที่มี / อัตราที่แพทย์สั่ง
เช่น แพทย์สั่ง 2.5 ลิตรต่อนาที
เวลาที่ใช้ได้  =  558.88/2.5 = 223.55 นาที หรือประมาณ 3 ชั่วโมง 43 นาที

สรุปได้ว่า
สูตร   
1. ปริมาณก๊าซในถังที่มี  =  (ความดันเกจ์ที่อ่านค่าได้หน่วยเป็นpsi x ปริมาตรV ที่ระบุมากับถัง) / 14.69
2. ออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถังจะใช้ได้นาน =  ปริมาณก๊าซในถังที่มี / อัตราที่แพทย์สั่ง

ตัวอย่าง
1.  ค่า V ที่ระบุบนถัง = 8.21
2. อ่านค่าแรงดันบนเกจได้ = 1,000 psi
3. แพทย์สั่งให้อ๊อกซิเจน 2.5 ลิตรต่อนาที

วิธีคำนวณ  ปริมาณก๊าซในถังที่มี  = (1,000 x 8.21) / 14.69 = 558.88
ออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถังจะใช้ได้นาน  =  558.88/2.5 = 223.55 นาที หรือ 3 ชั่วโมง 43 นาที

ถังและก๊าซ

  • ออกซิเจน
  • ไนโตรเจน
  • อาร์กอน
  • คาร์บอนฯ
  • อะเซทิลีน
  • ไนตรัสฯ
  • ฮีเลียม
  • ก๊าซพิเศษ-ผสม
  • ไนโตรเจนเหลว

เกจ์ปรับแรงดัน

  • เกจ์ปรับแรงดันออกซิเจน
  • เกจ์ปรับแรงดันไนโตรเจน
  • เกจ์ปรับแรงดันอาร์กอน
  • เกจ์ปรับแรงดันคาร์บอนฯ
  • เกจ์ปรับแรงดันอะเซทิลีน
  • เกจ์ปรับแรงดันฮีเลียม
  • เกจ์ปรับแรงดันแอลพีจี
  • เกจ์ปรับแรงดันอื่นๆ
  • เกจ์ปรับแรงดันผู้ป่วย

อุปกรณ์

  • อุปกรณ์เซฟตี้
  • อุปกรณ์ผู้ป่วย
  • อุปกรณ์เชื่อม-ตัด-ขัด
  • สายยาง
  • ลวดเชื่อม
  • รถเข็นถัง
  • ข้อต่อ
  • อะไหล่
  • ฝาครอบหัววาล์ว
  • เบ็ดเตล็ด
  • สินค้ามือสอง

สินค้าจัดชุด

  • ชุดหายใจ
  • ชุดเชื่อม
  • ชุดตัด
  • ชุดแพ็คปลา
  • ชุดเลี้ยงไม้น้ำ
  • ชุดเติมลม

ข่าวสาร

  • CSR
  • Calculate
  • Flashback

SP-Allgas 2023 . Powered by WordPress